![](https://static.wixstatic.com/media/38d8bb_a44fd8bf206d4291900eb98e121a3c31~mv2.jpg/v1/fill/w_980,h_333,al_c,q_80,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/38d8bb_a44fd8bf206d4291900eb98e121a3c31~mv2.jpg)
POSITION
ตำแหน่งบุคลากร
Instructor
คณาจารย์แห่งแซงต์มาร์แตงล้วนเป็นผู้มีประสบการณ์จริงในแต่ละแขนง ได้รับยศนายทหารสัญญาบัตร(Warrant Officer)เพื่อที่จะได้ไม่ต้องโยกย้ายไปตามกองทัพไปสนามรบและมาทำการสอนนักเรียนนายร้อยที่สถาบันอย่างเต็มที่ รายวิชาดังนี้
Major Subject
(วิชาหลัก)
War History
International Politics & Current Warfare
Military Code of Conduct
Logistics
Weapon Usage (Short Range)
Weapon Usage (Long Range)
Strategy & Grand Strategy
Personnel Management
Operation
Living Quarter Management
Elective
(วิชาเลือก)
Military Medical & Healthcare
Geography & Meteorology
Engineering
Artillery
Mining & Sapping
Foodstuffs Management
Maison
(ช่างชํานาญการ)
ช่างชำนาญคือบุคลากรที่เป็นส่วนสำคัญของสถาบัน พวกเขาให้ความช่วยเหลือในเรื่องที่นอกเหนือจากกิจการของทหารอย่างเรื่องจิปาถะและการใช้ชีวิตประจำวัน ช่างชำนาญการรวมตัวกันอยู่ ณ ลานช่างชำนาญการ (Artisan Court) ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของแซงต์มาร์แตง นับว่าเป็นสหกรณ์การผลิตส่วนบุคคลของสถาบันเพื่อที่จะได้ไม่ต้องนำเข้าจากภายนอก เป็นอีกหนึ่งกลุ่มบุคคลที่ทำให้สถาบันผ่านพ้นสถานการณ์ยากลำบากมาได้ และยังรวมถึงบุคลากรผู้ชำนาญการบริการในแขนงอื่นๆที่จำเป็นด้วยเช่นกัน
Tailor
(ช่างตัดเย็บ)
รับผิดชอบเครื่องแบบ เครื่องแต่งกายของนักเรียนทั้งสถาบัน รวมทั้งสิ่งที่ทำจากผ้า อาทิ ธง ป้ายผ้า และอื่นๆ
Architect
(สถาปนิก)
รับผิดชอบงานก่อสร้าง งานออกแบบสถาปัตยกรรม เนื่องจากสถาบันมีการปรับปรุงซ่อมแซมความเสียหายจากอุบัติเหตุทางการศึกษาอยู่เสมอ และงานยังรวมไปถึงการตกแต่งภายใน เครื่องเรือนอีกด้วย
Crofter
(กสิกร)
รับผิดชอบการผลิตในฟาร์ม ตั้งแต่ไร่นาไปจนถึงปศุสัตว์นำมาเป็นเสบียงเลี้ยงปากท้องในสถาบัน และบางครั้งก็ทำงานร่วมกับโรงพยาบาลในการนำพืนสมุนไพรมาผลิตยา
Stablemaster
(คนเลี้ยงม้า)
รับผิดชอบการผลิตในฟาร์ม ตั้งแต่ไร่นาไปจนถึงปศุสัตว์นำมาเป็นเสบียงเลี้ยงปากท้องในสถาบัน และบางครั้งก็ทำงานร่วมกับโรงพยาบาลในการนำพืนสมุนไพรมาผลิตยา
Cantinere
(สวัสดิการ)
ส่วนใหญ่รับผิดชอบอยู่ในโรงครัว ทั้งอาหารประจำวันและงานเลี้ยง ยังรวมไปถึงงานสวัสดิการอื่นๆอย่างดูแลความสะอาดทั่วไปอีกด้วย
Counselor
(ที่ปรึกษา)
แนะแนวและให้คำปรึกษากับนักเรียนและบุคคลภายในสถาบัน เนื่องจากการใช้ชีวิตในสถาบันนี้ค่อนข้างเครียดกอปรกับสถานการณ์การเมืองรอบข้าง ที่ปรึกษาจะคอยช่วยเหลือปรับทัศนคติ รับฟังและแนะนำแนวทางให้ อีกนัยก็เป็นคนที่รู้เรื่องส่วนตัวนักเรียนเยอะที่สุดคนหนึ่ง
Lamplighter
(คนจุดตะเกียง)
รับผิดชอบการผลิตเชื้อเพลิงและอุปกรณ์ส่องสว่าง อาทิ เทียนไข น้ำมัน ถ่าน และมีหน้าที่คอยจุดตะเกียงทั่วสถาบันทุกวันเมื่อพระอาทิตย์ตกดิน
Spokesman
(โฆษก)
เป็นผู้ประกาศแจ้งข่าวสาร ความคืบหน้าภายในสถาบันต่อโลกภายนอก และรับข่าวสารจากภายนอกมาแจ้งภายใน ทั้งนี้ยังรวมถึงงานไปรษณีย์ การส่งจดหมาย พัสดุ การออกประกาศและตรวจสอบเนื้อความในจดหมายเช่นกัน
Medic
(แพทย์)
รับผิดชอบการรักษาพยาบาลภายในโรงพยาบาลของสถาบัน ควบคุมแพทย์และพยาบาล ทำงานภายใต้ผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาลอีกต่อหนึ่ง
Undertaker
(สัปเหร่อ)
รับผิดชอบผู้เสียชีวิต การจัดการร่างและพิธีศพ เก็บกู้ซากและชัณสูตร เนื่องจากเป็นโรงเรียนนายร้อยจึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีผู้เสียชีวิต
Artisan
(ประดิษฐกร)
เป็นตำแหน่งที่อยู่คู่กับแซงต์มาร์แตงมานับแต่มีการก่อตั้งจึงเป็นที่มาของชื่อArtisan Court หัวใจสำคัญของการศึกษาวิชาทหารทั้งมวล รับผิดชอบการผลิตอาวุธและกระบี่เกียรติยศประจำตัวนักเรียน ยังรวมไปถึงอุปกรณ์สวมใส่ของม้าด้วยเช่นกัน งานโลหะทั้งหมดจะได้รับการผลิตและตรวจสอบคุณภาพจากประดิษฐกร หลายครั้งที่ฝ่ายประดิษฐกรคิดค้นยุทโธปกรณ์ออกไปประจำการในกองทัพด้วยเช่นกัน
**หมายเหตุ : ตำแหน่งเหล่านี้เป็นหัวหน้างานของแต่ละกลุ่ม ไม่ใช่คนที่ลงมือทำงานด้วยตัวเองเสมอไป เป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญสูงสุดในสายงานนั้นและคอยบริหารจัดการลูกน้อง**
Stranger
![martin_stranger (1).png](https://static.wixstatic.com/media/38d8bb_45894e5f57e2470cbf9cefb64c25f0c5~mv2.png/v1/fill/w_348,h_435,al_c,q_85,usm_0.66_1.00_0.01,enc_avif,quality_auto/martin_stranger%20(1).png)
“The Death Shall Accompany”
(ผู้วางวายจักเป็นสหายร่วมเคียง)
เมื่อครั้งจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ ได้มีการตราพระราชบัญญัติอภัยโทษขึ้นมาเพื่อแสดงคุณธรรมที่ผู้ปกครองพึงมี ในระหว่างการปฏิวัติเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มีกลุ่มคนมากมายที่ถูกจับจากข้อหากระด้างกระเดื่อง ปลุกระดมและก่อความไม่สงบภายในประเทศ มีคนจากหลายชนชั้นตั้งแต่ขุนนางไปจนถึงกรรมาชีพ รวมทั้งทหารในเคยประจำการในกองทัพด้วยเช่นกัน พวกเขาหลายคนต้องโทษถึงตาย แต่ทางการเล็งเห็นว่าแม้จะเป็นนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ แต่ก็มีฝีมือดีพร้อมจนน่าเสียดายที่จะส่งไปยังแดนประหาร จึงมีการยื่นข้อเสนอให้นักโทษเหล่านี้ว่าจะเลือก “ความตาย” หรือ “ความภักดี”
หากเลือกความภักดีก็จะได้รับการไว้ชีวิต แต่กระนั้นก็ไม่ได้รับอิสระโดยสมบูรณ์ พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช่ว่าทุกคนจะยื่นขอเองได้ ทางสำนักพระราชวังจะเป็นผู้เลือกเองว่าใครสมควรได้รับ นักโทษมีฝีมือที่เลือกความภักดีจะถูกส่งตัวไปยังสถานที่ต่างๆทั่วจักรวรรดิเพื่อปฏิบัติงานชดใช้โทษ ซึ่งงานเหล่านั้นล้วนเป็นภารกิจเสี่ยงตาย จำนวนปีที่ต้องโทษจะค่อยๆถูกลดลงไปตามจำนวนงานที่ทำสำเร็จ แต่หากเสียชีวิต ทุกสิ่งที่พากเพียรมาก็สูญเปล่า และหนึ่งในสถานที่ที่มีการส่งมาใช้โทษคือแซงต์มาร์แตง
“Stranger(Etranger)” หรือ “คนแปลกถิ่น” คือชื่อของกลุ่มนักโทษที่ถูกส่งมาใช้โทษที่นี่ เป็นเสมือนกองกำลังพิเศษภายใต้การควบคุมของสถาบัน สถาบันแห่งนี้มีเหตุไม่สงบเป็นประจำตามธรรมชาติของมันและเนื่องด้วยสถานการณ์การเมืองที่ระอุตลอดเวลาแม้จะมีสนธิสัญญาอาวีญงมาเป็นประกัน ตัวสถาบันมีทหารยามคอยเฝ้าระวังเหตุจริงอยู่ แต่พวกเขามีขอบเขตการทำงานที่ว่าจะไม่ทำร้ายนักเรียนเกินเหตุ และการไม่ทำเกินเหตุหลายครั้งก็ทำให้ไม่สามารถระงับเหตุได้ เหล่านักโทษจึงมีไว้เพื่อเหตุนี้ รวมถึงการทำงานใช้แรงงาน งานที่ไม่มีใครอยากทำ หรืองานแล้วแต่ผู้บังคับบัญชาจะมอบหมาย
“ทหารไม่สังหารประชาชน แต่นักโทษไม่สัญญาสิ่งเดียวกัน”
หมายเหตุ : สแตรนเจอร์ถูกระบุตัวตนด้วยอักษรนำหน้าชื่อ-นามสกุล ตามด้วยหมายเลขวันและเดือนที่ถูกจับ เช่น Jean Beaufort ถูกจับเดือนมีนาคม วันที่ 11 จะมีตัวย่อเป็น JB311 และทุกคนจะมี “Parole Letter” คือเอกสารเขียนบนกระดาษสีเหลืองเพื่อระบุตัวตนที่ทำให้ไม่สามารถสมัครงานทั่วไปภายนอกได้